เมนู

แผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน จึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้อย่างนี้ มี
อุปมาแม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีล เจริญ
โพชฌงค์ 7 กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7 ย่อมถึงความเป็นใหญ่หรือ
ความไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ก็อุปไมยฉันนั้นเหมือนกัน ดังนี้ พระสูตร
แม้อื่น ๆ อีกไม่น้อย ก็พึงเห็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสศีล
ทรงกระทำให้ยิ่งใหญ่ทีเดียวในพระสูตร หลายร้อยสูตรอย่างนี้มิใช่หรือ
เหตุไฉน ในที่นี้จึงตรัสศีลนั้นว่ามีประมาณน้อยเล่า ?
ตอบว่า เพราะทรงเทียบเคียงคุณชั้นสูง. ด้วยว่า ศีลยังไม่ถึงสมาธิ
สมาธิยังไม่ถึงปัญญา ฉะนั้น ทรงเทียบเคียงคุณสูง ๆ ชั้นไป ศีลอยู่เบื้อง
ล่าง จึงชื่อว่า ยังต่ำนัก.

ศีลยังไม่ถึงสมาธิ เป็นอย่างไร ?


คือว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ในปีที่ 7 นับแต่ตรัสรู้ ได้ประทับ
นั่งบนรัตนบัลลังก์ประมาณโยชน์หนึ่ง ในรัตนมณฑปประมาณ 12 โยชน์
ณ ควงต้นคัณฑามพฤกษ์ ใกล้ประตูนครสาวัตถี เมื่อเทพยดากางกั้น
ทิพยเศวตฉัตรประมาณ 3 โยชน์ ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ย่ำยีเดียรถีย์
ซึ่งแสดงการทรงถือเอาเป็นส่วนพระองค์ ในบริษัทประมาณ 12 โยชน์
คือ ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ อันเป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ท่อไฟพวยพุ่ง
ออกจากพระวรกายส่วนบน สายน้ำไหลออกจากพระวรกายส่วนล่าง ฯลฯ
ท่อไฟพวยพุ่งออกจากชุมพระโลมาแต่ละขุม ๆ สายน้ำไหลออกจากขุม
พระโลมาแต่ละชุม มีวรรณะ 6 ประการ ดังนี้ . พระรัศมีมีวรรณะดุจ

ทองคำพุ่งขึ้นจากพระสรีระอันมีวรรณะดังทองคำของพระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้นไปจนถึงภวัคพรหม เป็นประหนึ่งกาลเป็นที่ประดับหมื่นจักรวาลทั้ง
สิ้น. รัศมีอย่างที่สอง ๆ กับอย่างแรก ๆ เหมือนเป็นคู่ ๆ พวยพุ่งออก
ราวกะว่าในขณะเดียวกัน. อันชื่อว่าจิตสองดวงจะเกิดในขณะเดียวกัน
ย่อมมีไม่ได้. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ทรงมีการพักภวังคจิต
เร็ว และทรงมีความชำนาญที่สั่งสมไว้โดยอาการ 5 อย่าง ดังนั้น พระ
รัศมีเหล่านั้นจึงเป็นไปราวกะว่าในขณะเดียวกัน. แต่พระรัศมีนั้น ๆ ยัง
มีอาวัชชนะ บริกรรม และอธิษฐาน แยกกันอยู่นั่นเอง คือ พระผู้มี
พระภาคเจ้า
มีพระพุทธประสงค์รัศมีสีเขียว ก็ทรงเข้าฌานมีนีลกสิณเป็น
อารมณ์ มีพระพุทธประสงค์รัศมีสีเหลือง ก็ทรงเข้าฌานมีปีตกสิณเป็น
อารมณ์ มีพระพุทธประสงค์รัศมีสีแดงและสีขาว ก็ทรงเข้าฌานมีโลหิต-
กสิณเป็นอารมณ์ โอทาตสิณเป็นอารมณ์ มีพระพุทธประสงค์ท่อไฟ ก็
ทรงเข้าฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ มีพระพุทธประสงค์สายน้ำ ก็ทรงเข้า
ฌานมีอาโปกสิณเป็นอารมณ์. พระศาสดาเสด็จจงกรม พระพุทธนฤมิต
ก็ประทับยืน หรือประทับนั่ง หรือบรรทม บัณฑิตพึงอธิบายให้พิสดาร
ทุกบท ด้วยประการฉะนี้. ในข้อนี้ กิจแห่งศีลแม้อย่างเดียวก็ไม่มี ทุก
อย่างเป็นกิจของสมาธิทั้งนั้น ศีลไม่ถึงสมาธิ เป็นอย่างนี้.
อนึ่งเล่า ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมีมาสื่อสงไขย
ยิ่งด้วยแสนกัปแล้ว เมื่อกาลที่ทรงมีพระชนมายุได้ 29 พรรษา เสด็จออก
จากที่ประทับ อันเป็นที่อยู่อาศัย อันเป็นสิริแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ผนวช
ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ทรงบำเพ็ญเพียรตลอด 6 พรรษา ครั้นถึงวัน
วิสาขบุรณมี ดิถีเพ็ญเดือน 6 เสวยมธุปายาสใส่ทิพยโอชา ซึ่งนางสุชาดา

บ้านอุรุเวลคามถวาย เวลาสายัณหสมัย เสด็จเข้าไปยังโพธิมัณฑสถาน
ทางทิศทักษิณ และทิศอุดร ทรงทำปทักษิณพญาไม้โพธิใบ 3 รอบ แล้ว
ประทับยืน ณ เบื้องทิศอีสาน ทรงลาดสันถัตหญ้า ทรงขัดสมาธิสามชั้น
ทรงทำกรรมชานมีเมตตาเป็นอารมณ์อันประกอบด้วยองค์ 4 ให้เป็นเบื้อง-
ต้น ทรงอธิษฐานความเพียร เสด็จขึ้นสู่บัลลังก์อันประเสริฐ 14 ศอก
ผินพระปฤษฎางค์สู่ลำต้นโพธิ์อันสูง 50 ศอก ราวกะต้นเงินที่ตั้งอยู่บนตั่ง
ทอง ณ เบื้องบนมีกิ่งโพธิ์กางกั้นอยู่ราวกะฉัตรแก้วมณี มีหน่อโพธิ์ซึ่ง
คล้ายแก้วประพาฬหล่นลงที่จีวรซึ่งมีสีเหมือนทอง ยามพระอาทิตย์ใกล้จะ
อัสดงคต ทรงกำจัดมารและพลมารได้แล้ว ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติ-
ญาณ ในปฐมยาม ทรงชำระทิพยจักษุ ในมัชฌิมยาม ครั้นเวลาปัจจุส-
สมัยใกล้รุ่ง ทรงหยั่งพระปรีชาญาณลงในปัจจยาการที่พระสัพพัญญูพุทธ-
เจ้าทั้งหลาย ทรงสั่งสมกันมา ยังจตุตถฌานมีอานาปานสติเป็นอารมณ์ให้
บังเกิด ทรงทำจตุตถฌานนั้นให้เป็นบาท ทรงเจริญวิปัสสนา ทรงยัง
กิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปด้วยมรรคที่ 4 ที่พระองค์ทรงบรรลุแล้ว ตามลำดับ
แห่งมรรค ทรงแทงตลอดพระพุทธคุณทั้งปวง. นี้เป็นกิจแห่งปัญญาของ
พระองค์. สมาธิไม่ถึงปัญญา เป็นอย่างนี้.
ในข้อนั้น น้ำในมือยังไม่ถึงน้ำในถาด น้ำในถาดยังไม่ถึงน้ำใน
หม้อ น้ำในหม้อยังไม่ถึงน้ำในไห น้ำในไหยังไม่ถึงน้ำในตุ่ม น้ำในตุ่ม
ยังไม่ถึงน้ำในหม้อใหญ่ น้ำในหม้อใหญ่ยังไม่ถึงน้ำในบ่อ น้ำในบ่อยังไม่
ถึงน้ำในลำธาร น้ำในลำธารยังไม่ถึงน้ำในแม่น้ำน้อย น้ำในแม่น้ำน้อย
ยังไม่ถึงน้ำในปัญจมหานที น้ำในปัญจมหานที่ยังไม่ถึงน้ำในมหาสมุทร-
จักรวาล น้ำในมหาสมุทรจักรวาลยังไม่ถึงน้ำในมหาสมุทรเชิงเขาสิเนรุ

น้ำในมือเทียบน้ำในถาดก็นิดหน่อย ฯลฯ น้ำในมหาสมุทรจักรวาลเทียบ
น้ำในมหาสมุทรเชิงเขาสิเนรุ ก็นิดหน่อย ฉะนั้น น้ำในเบื้องต้น ๆ ถึง
มาก ก็เป็นนำนิดหน่อย โดยเทียบกับน้ำในเบื้องต่อ ๆ ไป ด้วยประการ
ฉะนี้ ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ศีลในเบื้องล่างก็มีอุปไมยฉันนั้นนั่นเทียว พึง
ทราบว่า มีประมาณน้อย ยังต่ำนัก โดยเทียบกับคุณในเบื้องบน ๆ. ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อปุถุชน
กล่าวชมตถาคตจะพึงกล่าวด้วยประการใด นั่นมีประมาณน้อยนัก ยังต่ำ
นัก เป็นเพียงศีล ดังนี้.

อธิบายคำว่า ปุถุชน


ในคำว่า เยน ปุถุชโน นี้ มีคำอธิบาย ดังต่อไปนี้
พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ตรัสว่า
ปุถุชนมี 2 พวก คือ อันธปุถุชน 1 กัลยาณปุถุชน 1 ดังนี้ .
ในปุถุชน 2 พวกนั้น บุคคลผู้ไม่มีการเรียน การสอบสวน การฟัง
การทรงจำ และการพิจารณาในขันธ์ ธาตุ และอายตนะเป็นต้น นี้ชื่อว่า
อันธปุถุชน บุคคลผู้มีกิจเหล่านั้น ชื่อว่า กัลยาณปุถุชน. อนึ่ง ปุถุชน
ทั้ง 2 พวกนี้
ชื่อว่าปุถุชน ด้วยเหตุทั้งหลาย มีการยังกิเลสมากมาย
ให้เกิดเป็นต้น ชนนี้เป็นพวกหนึ่ง เพราะหยั่งลง
ภายในของปุถุชน ดังนี้.

จริงอยู่ ปุถุชนนั้น ชื่อว่า ปุถุชน ด้วยเหตุเป็นต้นว่า ยังกิเลส